เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละอุทธัจจะ-
กุกกุจจะ คือความเป็นผู้พหูสูต ความเป็นผู้สอบถาม ความเป็นผู้
ชำนาญวินัย การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าว
ถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้เรียนได้ 1 นิกาย 2 นิกาย
3 นิกาย 4 นิกาย หรือ 5 นิกาย ด้วยอำนาจบาลี และด้วยอำนาจ
อรรถแห่งบาลี ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ แม้ด้วยความเป็นพหูสูต
เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามในสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถ
ยืนและนอนเป็นต้นก็ดี เป็นผู้ชำนาญ เพราะมีความช่ำชองชำนาญ
ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เฒ่าก็ดี คบ
กัลยาณมิตรผู้ทรงพระวินัย เสมือนกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละ
อุทธัจจะกุกกุจจะได้ ย่อมละได้แม้ด้วยคำอันเป็นสัปปายะ ที่อิงสิ่ง
ที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถยืนแลนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจะกุกกุจจะ
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า มนสิการอยู่ โดยอุบาย
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ
ความเป็นพหูสูต การสอบถาม ความเป็นผู้ชำนาญวินัย ความเป็นผู้
มากด้วยน้อมใจเชื่อ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำอันเป็น

สัปปายะ เมื่อภิกษุเรียน 1 นิกาย 2 นิกาย 3 นิกาย 4 นิกาย
หรือ 5 นิกาย ด้วยอำนาจบาลีและด้วยอำนาจอรรถ ย่อมละวิจิกิจฉา
ได้ แม้ความเป็นพหูสูต เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามเกี่ยวกับ
พระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีความช่ำชองชำนาญในพระวินัยก็ดี ผู้มากไป
ด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือ ศรัทธาปักใจเชื่อในฐานะ 3 ก็ดี ผู้ส้องเสพ
กัลยาณมิตร เสมือนพระวักกลิเถระผู้น้อมไปในศรัทธาก็ดี ย่อมละ
วิจิกิจฉาได้ ย่อมละได้ แม้ด้วยการกล่าวถ้อยคำอันเป็นสัปปายะ
อิงคุณพระรัตนตรัย ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 10

ในนีวรณปหานวรรคนี้ ท่านกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะแล.
จบ อรรถกถาสูตรนีวรณปหานวรรคที่ 2

อกัมมนิยวรรคที่ 3



[22] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน.
[23] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน.
[24] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน
จิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่.
[25] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่.
[26] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่
ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[27] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่